ประวัติ กศน.ตำบล

 

ประวัติ กศน.ตำบลโพนางดำออก โดยสังเขป

ความเป็นมา                                                       

          กศน.ตำบลโพนางดำออก ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ปีพ.ศ. 2549 โดยเริ่มแรกใช้สถานที่ของโรงเรียนวัดมะปราง ตำบลโพนางดำออก เป็นที่สำหรับพบกลุ่มจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน และเมื่อ วันที่ 26 มกราคม ปี พ.ศ. 2553 ได้มีการเปลี่ยนแปลงจาก ศูนย์การเรียนชุมชน มาเป็น กศน.ตำบลโพนางดำออกครูศูนย์การเรียนชุมชนจึงได้ย้ายสถานที่พบกลุ่มจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจากโรงเรียนวัดมะปราง มาจัดตั้งที่อาคารกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำพริก หมู่ 6 ตำบลโพนางดำออก อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท และปัจจุบันได้ย้ายไปอยู่  ณ โรงเรียนวัดสมอ หมู่ที่ 3  ตำบลโพนางดำออก  อำเภอสรรพยา  จังหวัดชัยนาท เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในตำบลโพนางดำออก

          ที่ตั้งตำบลโพนางดำออก ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอสรรพยา มีระยะห่างจากอำเภอสรรพยา ประมาณ  6  กิโลเมตร  โดยมีพื้นที่ติดต่อกับตำบลอื่นดังนี้

            ทิศเหนือ  ติดต่อกับตำบลหาดอาษา   อำเภอสรรพยา    จังหวัดชัยนาท

            ทิศใต้      ติดต่อกับตำบลชีน้ำร้าย     อำเภออินทร์บุรี    จังหวัดสิงห์บุรี

            ทิศตะวันออก  ติดต่อกับตำบลเขาแก้ว     อำเภอสรรพยา   จังหวัดชัยนาท

            ทิศตะวันตก    ติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา  อำเภอสรรพยา   จังหวัดชัยนาท          

                     เนื้อที่ทั้งหมด   28.02   ตารางกิโลเมตร  หรือ  17,510  ไร่             

 

          หมายเลขโทรศัพท์         062-6935362

          หมายเลขโทรสาร                   -

          E-Mail                     somyingrungkin2529@gmail.com

บทบาทหน้าที่ภารกิจ กศน.ตำบล

          กศน.ตำบลจะมีการปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ ตลอดจนรองรับการเป็นประชาคมอาเซียนมากขึ้น ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่
    1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่

          เป็นศูนย์กลางการส่งเสริม จัดกระบวนการการเรียนรู้ และหน่วยประสานงานแหล่งเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในชุมชน ดำเนินงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาจักร (กอ.รมน.)

    2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.)

          เพื่อสร้างการเรียนรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข โดยเฉพาะสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตยบูรณาการความร่วมมือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

    3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน

          ซึ่งบริหารจัดการฐานข้อมูลที่จำเป็นสำหรับ กศน. และชุมชน เพื่อให้มีความรู้และรับรู้ที่เท่าทันปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกยุคดิจิทัล   

4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน

          เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพที่สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา โดยยึดชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน โดย กศน.ตำบลมีบทบาทเป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น